ศูนย์พัฒนาสื่อ
นวัตกรรมและเทคโนโลยี
(Center for Media Development
Innovation and Technology)
ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการด้านโสตทัศนศึกษาแก่บุคลากรในจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยเดิมมีที่ทำการอยู่ที่คณะครุศาสตร์ ต่อมาได้รวมเข้าเป็น หน่วยงานหนึ่ง
ของสถาบันวิทยบริการตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันวิทยบริการเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521ซึ่งได้รวมหน่วยงาน
บริการวิชาการ 3 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ได้แก่
- หอสมุดกลาง
- ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง
- ศูนย์เอกสารประเทศไทย
และได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่อาคารมหาธีรราชานุสรณ์
ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2525 โดยที่ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง
มีหน้าที่ด้านการผลิตสื่อการสอนให้บริการโสตทัศนวัสดุและโสตทัศนูปกรณ์ แก่ อาจารย์
ข้าราชการ นิสิต และหน่วยงานต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากการศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูล
และนำเสนอโดยใช้ กระบวนการบริหารแบบ POSDCoRB มานำเสนอเพื่อให้เปิดความเข้าใจภายในองค์มากยิ่งขึ้น
ดังนี้
1. Planning : การวางแผน
วิสัยทัศน์
สำนักงานวิทยทรัพยากรเป็นองค์กรสารสนเทศชั้นนำ
เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาคมจุฬาฯ และสังคม ผลสัมฤทธิ์สำคัญ 4 ประการ คือ
-
เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการชั้นนำที่สนับสนุนความเป็นเลิศด้านการวิจัย
และการเรียน การสอน(Academic Solution Provider) ในระดับประเทศและนานาชาติ
-
มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง
ๆ
-
ให้บริการสารสนเทศด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีรูปแบบใหม่
ๆ
-
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และการวิจัย
พันธกิจ
-
สร้างความแข็งแกร่งให้กับทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศด้านการวิจัย
การเรียน การสอนและการบริการวิชาการสู่สังคมของมหาวิทยาลัย
-
สงวนรักษาและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของจุฬาฯ
ประเทศชาติและนานาชาติ
-
พัฒนาและสร้างสรรค์สื่อใหม่เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
และกิจกรรมวิชาการของมหาวิทยาลัย
-
พัฒนานวัตกรรมบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาคมจุฬาฯ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และการ วิจัย
-
สร้างความเชื่อมโยงสารสนเทศจากแหล่งความรู้ต่าง
ๆ
-
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมจุฬาฯ
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทางวิชาการในวงกว้าง
-
เป็นที่ปรึกษาทางด้านสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน
ที่สนับสนุนแนวความคิดทางการศึกษารูปแบบใหม่
-
สร้างสภาพแวดล้อมทางวิชาการที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนมหาวิทยาลัย
-
สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับชาติและนานาชาติ
โครงสร้างองค์กร
2. Organizing :
การจัดองค์การ
ศูนย์พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Center for Media Development, Innovation
and Technology)เดิมคือ ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง (Audio Visual
Center) เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ผลิตและบริการสื่อ
เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นิสิต บุคลากร
และหน่วยงานต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานตามการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของสำนักงานวิทย
ทรัพยากร ในปัจจุบันศูนย์พัฒนาสื่อฯ มีภารกิจในการบันทึกองค์ความรู้ ภูมิปัญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรูปสื่อชนิดต่างๆ
โดยเก็บไว้ในรูปของวีดิทัศน์ และนำมาบริหารจัดการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบ
ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานของการใช้งาน
และเผยแพร่ให้ประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัยได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง
ตลอดเวลา ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
นอกจากนั้นยังให้บริการถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย
บริการผลิตสื่อกราฟิก สื่อภาพดิจิทัล สื่อเสียง สื่อวีดิทัศน์ สื่อผสม และสื่อใหม่
ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ศูนย์พัฒนาสื่อฯ ประกอบด้วย 4 กลุ่มภารกิจ คือ
- ภารกิจจัดหาสื่อ (Media Acquisition) มีหน้าที่จัดหาสื่อโดยการถ่ายทำ
บันทึกรายการ สื่อประเภทต่างๆ
ทั้งภาพดิจิทัล วีดิทัศน์ เสียง
ซึ่งอาจเป็นการจัดหาด้วยการไปถ่าย บันทึกรายการเอง
หรือเป็นการจัดหาโดยหน่วยงานอื่นส่งสื่อสำเร็จมา ให้เพื่อดำเนินการตามขั้น ตอนอื่นๆ ต่อไป
- ภารกิจจัดการสื่อ (Media Management) มีหน้าที่ทำกราฟิก
ตัดต่อ ตกแต่ง แปลง ประกอบสื่อประเภทต่างๆ ที่ได้รับมาจากการจัดหา
เพื่อแปลงรูปแบบให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และลักษณะการนำไปใช้งาน
รวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาวิเคราะห์และออกแบบการผลิตสื่อ
- ภารกิจจัดเก็บสื่อ (Media Archive/Storage) มีหน้าที่จัดเก็บสื่อประเภทต่างๆ
ที่ผ่านขั้นตอนของการผลิต
หรือการจัดการให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้วไปจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีการทำ Metadata
ให้สามารถสืบค้นได้สะดวก รวดเร็ว
การจัดเก็บนี้มีทั้งการจัดเก็บสื่อเพื่อบริการ และจัดเก็บสื่อต้นฉบับที่ใช้เพื่อการเพื่อการผลิต
- ภารกิจเผยแพร่สื่อ (Media Broadcasting) มีหน้าที่ในการเผยแพร่สื่อที่ผลิตในลักษณะต่างๆ
ทั้งในรูปของการถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่าย (web cast) สื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์
(Digital Signage) ระบบวีดิทัศน์เครือข่ายห้องสมุด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Library Channel) และการบริการสื่อโสตทัศนวัสดุ
ซีดีรอมสอนภาษา และเพลง ดีวีดีภาพยนตร์เพื่อการศึกษา สื่อออนไลน์
3.
Staffing : การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การ
ผู้จัดการ นายบรรพต
สร้อยศรี
ภารกิจจัดหาสื่อการศึกษา มล.กิจจาริณี บำรุงตระกูล
นายชัชวาล ศรีสละ
นายนราพงค์ เกิดบัวเพชร
นายอภิชัย ทะนัน
นายวิโรจน์ ลาภทรัพย์ทวี
นายประทีป สว่างดี
ภารกิจจัดการสื่อการศึกษา นายวรัช แก้วบุญเพิ่ม
นางสุวรรณา
บุญเสริม
นางสาวปิติมาต
สิริธนภัคกุล
ภารกิจจัดเก็บสื่อการศึกษา นางสาวกาญจนา ภักดีรุจีรัตน์
นายบรรพต
สร้อยศรี
ภารกิจเผยแพร่สื่อการศึกษา นางศิริลักษณ์ สุตันไชยนนท์
นายพิพัฒน์
ศรีเที่ยง
ห้อง MCR 02
– 2182968
เคาน์เตอร์ติดต่องาน 02 – 2182946
4. Directing : การอำนวยงาน
จากการสัมภาษณ์
ผู้จัดการองค์กรของศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
คุณบรรพต สร้อยศรี นั้น ภายในองค์กรได้ใช้ หลักการออกแบบของ ADDIE model ในการทำงาน ADDIE model เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนที่นักออกแบบการเรียนการสอนและนักพัฒนาการฝึกอบรมนิยมใช้กัน
ซึ่ง ADDIE Model มีลำดับการพัฒนาเป็น 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์
(Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา
(Development) การนำไปใช้
(Implemen tation) และการประเมินผล (Evaluation)
ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นแนวทางที่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถนำไปสร้างเป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analysis Phase)
ขั้นที่ 2 การออกแบบ (Design Phase)
ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (Development Phase)
ขั้นที่ 4 ขั้นการนำดำเนินการ (Implementation Phase)
ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase)
5,.Coordinating : การประสานงาน
ศูนย์พัฒนาสื่อมีการประสานภายในอย่างมีระบบ
ทำให้ศูนย์พัฒนาสื่อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ
ในมหาวิทยาลัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
และการประสานงานกับหน่วยงานเอกชนภายนอกเพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ ๆ
อย่างต่อเนื่อง
6. Reporting : การรายงาน
มีการจัดทำรายงานประจำปี เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตลอดทั้งปี
และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโดยใช้ KPI ซึ่ ภารกิจและรองรับกลยุทธ์ของมหาลัย ชี้วัดผลการดำเนินงานของบุคลากร เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาศูนย์พัฒนาสื่อ
7. Budgeting : การงบประมาณ
แหล่งงบประมาณของศูนย์พัฒนาสื่อมาจากหลายทาง โดยหลักๆ มาจากงบประมาณจากมหาวิทยลัย
และงบประมาณแผ่นดินที่จะได้รับเป็นรายปี และรายได้จากการจัดอบรมต่างๆ
ของแต่ละคณะที่มาติดต่อขอจัดอบรม ค่าปรับที่เกิดขึ้นจากการยืม คืนหนังสือของหอหมุด
ค่าผ่านประตูสำหรับบุคคลภายนอก และค่าเช่าพื้นที่สำหรับร้านค้าในหอสมุด
อ้างอิง
- http://omega.car.chula.ac.th/av/?
- http://www.chula.ac.th/
และขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณบรรพต สร้อยศรี (ผู้จัดการ ) และทีมงานทุกคนคะ
อ้างอิง
- http://omega.car.chula.ac.th/av/?
- http://www.chula.ac.th/
และขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณบรรพต สร้อยศรี (ผู้จัดการ ) และทีมงานทุกคนคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น